วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1.3.3ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
(http://www.niteslink.net/)เป็น ทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความ เข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction) เป้า หมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอน ตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้ เกิดขึ้น ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม ตนเองในการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้ แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
วี ก็อทสกี้เป็นนักจิตวิทยาชาวรัชเซียทฤษฎีเชาว์ปัญญาของวีก็อทสกี้เน้นความ สำคัญของวัฒนธรรม สังคม และการเรียนรู้ที่มีต่อพัฒนาการเชาว์ปัญญา
วีก็อทสกี้แบ่งระดับเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 ขั้น คือ
1.เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น คือเชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
2.เชาว์ ปัญญาขั้นสูง คือเชาว์ปัญญาที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้โดยใช้ภาษา วีก็อทสกี้ได้แบ่งพัฒนาการทางภาษาเป็น 3 ขั้น คือ
    - ภาษที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า ภาษาสังคม
    - ภาษาที่พูดกันตนเอง 3 – 7 ขวบ
    - ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน 7 ขวบขึ้นไป
สรุปได้ว่า การเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นกระบวนการในการ Acting on ไม่ใช่ Taking in
 (ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน)ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้  วีก็อทสกี้ (Vygotsky) เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซียที่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาน์ปัญญาในสมัยเดียวกับ   เพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาน์ปัญญาของเพียเจต์และวีก็อทสกี้เป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพียเจต์เชื่อว่า (Piaget, 1972: 1 - 12) คนทุกคนจะมีการพัฒนาเชาน์ปัญญาไปตามลำดับขั้น จากการปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และแระสบการณ์ที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม ส่วนวีก็อทสกี้ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก มนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งนอกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้วก็ยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมวางก็คือ วัฒนธรรมที่แต่ละสังคมสร้างขึ้น
ข.      การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน การนำทฤษฎีการสร้างความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน สามารถทำได้หลายประการ ดังนี้
1.      ตาม ทฤษฎีการสร้างความรู้ ผลของการเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ และการตระหนักรู้ในกระบวนการนั้นเป้าหมายการเรียนรู้จะต้องมาจากการปฏิบัติ งานจริง ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
2.      เป้า หมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอน ตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย การเรียนรู้ทักษะต่างๆจะต้องให้มีประสิทธิภาพถึงขั้นทำได้และแก้ปัญหาจริง ได้
3.      ใน การเรียนการสอน ผู้เรียนจะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างตื่นตัว ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆและจะต้องสร้าง ความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
4.      ใน การจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคม จริยธรรม ให้เกิดขึ้น กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสเรียนรู้ในบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฎิสัมพันธ์ทางสังคม จะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขึ้น และหลากหลายขึ้น
5.      ในการเรียนการสอน ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
6.      ใน การเรียนการสอนแบบสร้างความรู้ ครูจะมีบทบาทแตกต่างไปจากเดิม คือจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ เปลี่ยนไปเป็นการให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ คือการเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก การให้ความรู้ไปเป็น การให้ผู้เรียนสร้างความรู้
7.      ใน ด้านการประเมินผลการเรียนการสอน เนื่องจากการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองนี้ ขึ้นกับความสนใจและการสร้างความหมายที่แตกต่างกันของบุคคล ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะหลากหลาย
สรุป ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการฝึกการเรียนรู้ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการในการสร้างความรู้ ความเข้าใจจากประสบการณ์ การเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้รับรู้ถึงประสบการณ์จริงให้มีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นจริงและสอดคล้อง กับความสนใจของผู้เรียน สมองเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแปลความหมายของเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆได้ เป็นอย่างดี
อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น