วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย


สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธ์ (2534:56)  การวิจัยหมายถึง กระบวนการที่ดำเนินไปอย่างมีระบบระเบียบและกฎเกณฑ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการกับข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนอไว้
ที่มาของปัญหาการวิจัย
1.การกำหนดปัญหาสำหรับวิจัย
2.การศึกษาเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.การสร้างกรอบของทฤษฎี
4.การกำหนดสมมติฐานของการวิจัย
5.การให้คำจำกัดความของตัวแปร
6.การกำหนดวิธีวัดตัวแปร
7.การกำหนดรูปแบบของการวิจัย
8.การวิเคราะห์พิจารณาเลือกกลุ่มประชากร
9.การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
10.การกำหนดวิธีวิเคราะห์ข้อมูล
11.การแปรผลที่ได้จากการวิเคราะห์
12.การกำหนดวิธีการเขียนรายงานผลที่ได้จากการวิจัย

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ( 2544 :39) การวิจัยหมายถึง การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบโดยอาศัยอุปกรณ์หรือวิธีการ เพื่อให้พบข้อเท็จจริงหรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎีหรือแนวทางในการปฏิบัติ
ที่มาของปัญหาการวิจัย
1.การกำหนดปัญหาวิจัย
2.การทบทวนวรรณกรรม
3.การกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย
4.การกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย
5.การออกแบบการวิจัย
6.การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
7.การสร้างเครื่องมือการวิจัย
8.การเก็บรวบรวมข้อมูล
9.การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
10.การอภิปรายผลและเสนอข้อสรุปของการวิจัย


วันทนีย์  ชูศิลป์ (2535) การวิจัยเป็นขวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อที่จะได้นำความรู้และความจริงนั้นๆไปใช้ในการตัดสินใจปัญหาหรือเพื่อก่อให้เกิดความรู้หรือทฤษฎีใหม่
ที่มาของปัญหาการวิจัย
1.กำหนดปัญหา
2.สร้างสมมุติฐาน
3.การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
4.การกำหนดตัวแปร
5.กำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ
6.ออกแบบการวิจัย
7.สร้างเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล
8.วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
9.เขียนรายงานการวิจัย


สรุป
การวิจัยหมายถึง เป็นกะบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบและกฎเกณฑ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการเก็บข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล โดยมีการทดลองสมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้นๆ


อ้างอิง
พรศรี ศรีอัษฎาพร.(2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพานิช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2545).สถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชิดชนก  เชิงเชาว์.(2535).การวิจัยเบื้องต้นทางการศึกษา.ปัตตานี : ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการมหาลัยสงขลานครินทร์ .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น